4 การติชมนักเรียนอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ

Chinapat Rachrugs

Chinapat Rachrugs

4 การติชมนักเรียนอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ

การให้คำติชมนั้นถือเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับการเติบโตของนักเรียนมาก จะเติบโตไปอย่างไรส่วนหนึ่งนั้นมาจากคำติชมของคุณครูเลยค่ะ แต่เราจะเป็นการติชมอย่างไรให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด เพื่อให้นักเรียนของเราเติบโตไปอย่างมีคุณภาพ วันนี้ ClassPoint นำ 4 การติชมนักเรียนให้ได้ประสิทธิภาพมาฝากทุกคนกันค่ะ

1. ข้อเสนอแนะควรมุ่งเน้นไปที่เป้าหมาย

เป้าหมายหมายถึงผลการเรียนรู้ ในการให้คำติชมแก่นักเรียน คุณครูสามารถอ้างอิงถึงผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักเรียนได้ว่านักเรียนทำได้ดีแค่ไหนและ ยังมีส่วนไหนที่ยังขาดตกบกพร่องอยู่

การให้คำติชมกับนักเรียนนั้นเราสามารถตั้งเป็นคำถามได้ เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนเกิดการตั้งคำถามกับเป้าหมายของตนเองได้ ตัวอย่างเช่น “หนึ่งในเป้าหมายการเรียนรู้คือการแยกแยะระหว่างความลำเอียงและอคติออกจากกัน ทั้งสองแตกต่างกันอย่างไร ไฮไลท์ความแตกต่างเหล่านั้นให้ชัดเจน”

การดึงความสนใจของนักเรียนไปที่ผลการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอช่วยให้พวกเขานึกถึงเป้าหมาย กระตุ้นให้พวกเขาประเมินผลงานของตนเองโดยเปรียบเทียบกับผลการเรียนรู้ได้อยู่เสมอ

2. ให้คำติชมอย่างชัดเจนและเจาะจง

แทนที่จะพูดอย่างคลุมเครือ ให้ระบุรายละเอียดเฉพาะเจาะจงเกี่ยวกับสิ่งที่นักเรียนทำได้ดีและจุดที่ต้องปรับปรุง ตัวอย่างเช่น แทนที่จะพูดว่า “ประเด็นดี แต่ส่งได้ไม่ดี” ให้พูดว่า “คุณทำประเด็นได้ดีเยี่ยม อย่างไรก็ตาม มันจะดีกว่าถ้าคุณใช้ตัวอย่างที่เกี่ยวข้องมากกว่านี้” วิธีที่นี้จะช่วยคุณในฐานะครูคือการคิดเกี่ยวกับขั้นตอนการปฏิบัติที่นักเรียนของคุณสามารถดำเนินการเพื่อปรับปรุงงานของพวกเขาและสื่อสารในลักษณะที่ชัดเจนและรัดกุมได้มากยิ่งขึ้น

ความเฉพาะเจาะจงเป็นสิ่งสำคัญเพราะ อย่างแรก นักเรียนสามารถระบุสิ่งที่ต้องปรับปรุงเพื่อให้ประสบความสำเร็จ อย่างที่สอง ส่งเสริมพฤติกรรมเชิงบวกเมื่อนักเรียนทำสิ่งที่ถูกต้อง อย่างที่สาม หลีกเลี่ยงความสับสนด้วยการทำให้ชัดเจนและรัดกุม อย่างที่สี่ ช่วยให้นักเรียนมีแรงจูงใจโดยการแสดงให้พวกเขาเห็นว่าความคืบหน้าของพวกเขาได้รับการสังเกต การให้คำติชมที่เหมาะสมสามารถช่วยให้นักเรียนตระหนักถึงจุดแข็งและจุดอ่อน ของตนเองมากยิ่งขึ้น

3. ให้คำติชมอย่างมืออาชีพ

ใช้คำติชมเชิงบวกและเชิงลบ: เน้นให้คำติชมทั้งด้านบวกและด้านลบกับนักเรียน ไม่ควรที่จะให้คำติชมด้านลบที่มากเกินไปเพราะจะทำให้นักเรียนนั้นยอมแพ้ต่อการทำเป้าหมายให้สำเร็จก่อน ดังนั้น การเน้นย้ำในเชิงบวกจะช่วยให้นักเรียนรู้สึกดีขึ้นเกี่ยวกับตนเองในระยะยาว แม้ว่าพวกเขาจะยังต้องปรับปรุงงานบางด้านก็ตาม

เลือกคำของคุณอย่างระมัดระวัง: เมื่อให้คำติชม สิ่งสำคัญคือต้องคำนึงว่าบางคำพูดอาจดูเหมือนเป็นการประจบประแจงหรือทำให้เกิดความรู้สึกไม่คู่ควรจากนักเรียนที่ได้รับ

รับทราบการปรับปรุง: สุดท้าย รับทราบความคืบหน้าเมื่อมันเกิดขึ้น เปรียบเทียบผลงานเก่ากับผลงานใหม่และชี้ให้เห็นถึงสิ่งที่ปรับปรุงเมื่อเวลาผ่านไป เช่น “ดูเหมือนว่าคุณกำลังปรับปรุงจริงๆ! ตัวอย่างที่คุณให้มานั้นอธิบายได้ชัดเจนกว่าเดิมได้ดียิ่งขึ้น”

4. ให้คำติชมอย่างถูกเวลา

คำติชมที่มีประสิทธิภาพแสดงให้นักเรียนเห็นถึงวิธีการเปลี่ยนแปลงระหว่างกระบวนการ แทนที่จะเป็นตอนท้ายของกระบวนการ เมื่อย้อนกลับไปไม่ได้ นักเรียนอาจมีเวลาไม่เพียงพอที่จะรวมความคิดเห็นเหล่านั้นเข้ากับการบ้านครั้งถัดไปก่อนที่งานจะถึงกำหนด และอาจทำข้อผิดพลาดเดิมซ้ำอีก

จากตัวอย่างความคิดเห็นที่ได้รับระหว่างกระบวนการ สมมติว่าคุณครูเห็นย่อหน้าหนึ่งในเรียงความและบอกนักเรียนว่าส่วนใดส่วนหนึ่งนั้นยังต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม ชี้ให้เห็นว่าทำไมสิ่งนี้เกี่ยวข้องกับผลการเรียนรู้อย่างไร ดังนั้น แทนที่จะได้รับเรียงความที่ให้คะแนนพร้อมกับความคิดเห็นดังกล่าว (เมื่อไม่มีสิ่งใดที่นักเรียนสามารถทำได้เพื่อให้เกรดดีขึ้น) เขาสามารถเพิ่มรายละเอียดนั้นได้ทันทีเพราะเขารู้ว่าครูต้องการอะไร

ข้อควรพิจารณาเมื่อให้คำติชมแก่นักเรียน

การให้ข้อเสนอแนะที่มีประสิทธิภาพแก่นักเรียนสามารถทำได้ 2 วิธี ส่วนใหญ่จะเป็นลายลักษณ์อักษรหรือทางวาจา แต่ไม่ว่าจะด้วยวิธีใด เราควรคำนึงถึงความรู้สึกของนักเรียนที่ได้รับเสมอ

Chinapat Rachrugs

About Chinapat Rachrugs

สวัสดีค่ะ พัชรจาก Inknoe ClassPoint หลายๆ คนคงจะรู้จักกันมาอยู่แล้วจากกลุ่ม ClassPoint สื่อการสอนโต้ตอบได้ ที่เน้นแบ่งปันความรู้หลากหลาย โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีการศึกษา สำหรับพื้นที่ตรงนี้เราจะมาแบ่งปันความรู้ และเทคโนโลยีจากทั้งในและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ด้วยเนื้อหาที่เข้มข้นมากขึ้นค่ะ

Supercharge your PowerPoint.
Start today.

500,000+ people like you use ClassPoint to boost student engagement in PowerPoint presentations.